• หน้าหลัก
  • โครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนแห่งสายน้ำ
    • ลงทะเบียนร่วมงาน
  • เกี่ยวกับปทุมธานี
    • บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
    • ประเพณีและวัฒนธรรม
    • ประวัติจังหวัดปทุมธานี
    • สถานที่ท่องเที่ยว
      • วัด
      • พิพิธภัณฑ์
      • แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
      • โบราณสถาน
      • ธุรกิจและบริการ
        • สนามกีฬา
        • โรงแรม
        • ตักศิลาแห่งการศึกษาเรียนรู้
      • ตลาดเก่า
      • สินค้า OTOP
      • สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
  • ติดต่อหน่วยงาน
  • 中文
  • ไทย
  • English (UK)
Recommend Print

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 1   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 2   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 3   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 4   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 5   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 6   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 7   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 8   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 9   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 10   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 11   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 12   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 13   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ... Image 14

 

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

งานจดหมายเหตุ ของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาสืบย้อนขึ้นไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย โดยอาศัยตามข้อทรงสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า "เรื่องจดหมายเหตุมีธรรมเนียมเก่าเป็นหน้าที่ของมหาดเล็กจะต้องจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เก็บไว้ในหอศาสตราคม และงานจดหมายเหตุในราชสำนักก็ยังเป็นประเพณีสืบต่อมาหลายสมัย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานเรื่องการจัดงบประมาณกรมพระอาลักษณ์ เมื่อ ร.ศ. 115 ขอรับพระราชทานยกการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันรวมกับราชกิจจานุเบกษายกเป็นกองจดหมายเหตุ ใน ร.ศ. 118 ปรากฏหลักฐานประกาศตั้งตำแหน่งข้าราชการกรมรัฐมนตรีและกรมพระอาลักษณ์ มีหลวงนรราชจำนงดำรงตำแหน่งปลัดกรม ยังคงปรากฏมีกองจดหมายเหตุอยู่" ส่วนหอจดหมายเหตุ ในความหมายที่เป็นหน่วยงานเก็บเอกสารไว้เป็นเอกสารจดหมายเหตุ ตรงกับคำว่า ARCHIVESของภาษาอังกฤษ มิใช่เพียงแต่หมายถึงการจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่เกิดขึ้นแล้วเก็บไว้นั้นเริ่มในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชการเป็นอย่างยิ่งและมีพระราชกระแสให้นำเอกสารสำคัญไปเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุ ดังตัวอย่างพระราชกระแสที่จะอัญเชิญต่อไปนี้ "เรื่องตราเป็นอันได้ความถูกต้องตามที่พระยามหาอำมาตยแจ้งความ แต่มีความเสียใจที่เปนตราแกะใหม่ทั้ง 2 ดวงรุ่นเดียวกันกับนารายน์ทรงราหูตราเก่าเป็นจะหายหกตกหล่นเพราะเจ้าแผ่นดินไม่ได้อยู่ติดเมืองสักคนหนึ่งศุภอักษรนี้อ่านคันใจเต็มที เพราะเจ้าใจโดยมาก ด้วยเป็นคำมคธคำไทยเจืออยู่แต่คำเขมรไม่เข้าใจเลย ขอให้ล่ามเขมรเขียนอักษรขอมบรรทัดหนึ่ง อักษรไทยอ่านเปนสำเนียงเขมรบรรทัดหนึ่ง คำแปลภาษาเขมรเขียนลงไว้ใต้คำเขมรที่เขียนอักษรไทย หนังสือชนิดนี้ควรจะเข้าอาไคฟ ขอให้เก็บให้จงดี"

          การดำเนินงานจดหมายเหตุในระยะแรกมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นแผนกจดหมายเหตุอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ มีเอกสาร 2 ประเภท คือ เอกสารจดหมายเหตุในอดีตได้มาจากหนังสือที่หอพระสมุดวชิรญาณมีอยู่เดิม ส่วนที่หาเพิ่มได้มาจากหนังสือท้องตราและใบบอกราชการหัวเมืองตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขึ้นไป ขอจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่าง ๆ ส่วนเอกสารจดหมายเหตุในปัจจุบันให้กระทรวงต่าง ๆ ส่งบรรดาคำสั่ง ข้อบังคับ หรือรายงานที่กระทรวงนั้น ๆ จัดพิมพ์ขี้นมาให้หอพระสมุดวชิรญาณเก็บรักษาไว้ ท่านตรัสว่า "เราหาหนังสือหลักฐานทางราชการในสมัยก่อน ๆ ลำบากอยู่แล้ว

ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. การค้นภาพจดหมายเหตุ เข้าชมเป็นหมู่คณะ ควรติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม โทรศัพท์ ๐-๒๙๐๒-๗๙๔๐ ต่อ ๑๑๑, ๑๑๓

 

JavaScript must be enabled in order for you to use Google Maps.
However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser.
To view Google Maps, enable JavaScript by changing your browser options, and then try again.

พิมพ์

วิดีโอคลิปแนะนำ

youtube