• หน้าหลัก
  • โครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนแห่งสายน้ำ
    • ลงทะเบียนร่วมงาน
  • เกี่ยวกับปทุมธานี
    • บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
    • ประเพณีและวัฒนธรรม
    • ประวัติจังหวัดปทุมธานี
    • สถานที่ท่องเที่ยว
      • วัด
      • พิพิธภัณฑ์
      • แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
      • โบราณสถาน
      • ธุรกิจและบริการ
        • สนามกีฬา
        • โรงแรม
        • ตักศิลาแห่งการศึกษาเรียนรู้
      • ตลาดเก่า
      • สินค้า OTOP
      • สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
  • ติดต่อหน่วยงาน
  • 中文
  • ไทย
  • English (UK)
Recommend Print

หออัครศิลปิน

หออัครศิลปิน Image 1   หออัครศิลปิน Image 2   หออัครศิลปิน Image 3   หออัครศิลปิน Image 4

 

หออัครศิลปิน
                       ก่อตั้งเมื่อ พุทธศักราช  2539  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2553  เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ  เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ  50  ปี เมื่อปีพุทธศักราช 2539  เป็นศูนย์กลางจัดแสดงผลงานพระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมในฐานะทรงเป็น “อัครศิลปิน” และเพื่อสนองพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารีที่ว่า “ผลงานของศิลปินแห่งชาติเป็นมรดกทางศิลปะอันล้ำค่าของชาติเป็นเครื่องหมายแสดงอารยธรรมอันสูงส่งของชาติไทย ควรแก่การภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติจึงจำเป็นต้องจัดทำเนียบขึ้นบัญชีอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า และรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติโดยส่วนรวมต่อไป”

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า อ้างอิง เกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประวัติผลงานของศิลปินแห่งชาติเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญและช่วยกันอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงอยู่สืบไป อีกทั้งเป็นสถานที่สำหรับให้ศิลปินแห่งชาติได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้แก่ศิลปิน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน โดยจัดแบ่งเป็นห้องต่างๆ  จำนวน 7 ห้อง บนพื้นที่ 3 ชั้น แยกเป็นห้องบริหาร 1 ห้อง ห้องนิทรรศการชั่วคราว 1  ห้อง ห้องนิทรรศการถาวร 5 ห้อง จัดแสดงนิทรรศการพระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของอัครศิลปินจำนวน 2 ห้อง และนิทรรศการเผยแพร่ ประวัติ ผลงาน ของศิลปินแห่งชาติทุกท่าน จำนวน 3 ห้อง โดยใช้สื่อผสมที่ทันสมัย สื่อปฏิสัมพันธ์หลายชนิด ได้แก่ วิดิทัศน์ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย วีดิโอซีดี ภาพดูราแทน ไดโอรามา คาราโอเกะ ตู้ถ่ายสติกเกอร์  สไลด์มัลติวิชัน เป็นต้น

 

JavaScript must be enabled in order for you to use Google Maps.
However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser.
To view Google Maps, enable JavaScript by changing your browser options, and then try again.

พิมพ์

วิดีโอคลิปแนะนำ

youtube