อนุสรณ์สถานแห่งชาติ

Average rating

 

 

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ

พลเอก สายหยุด เกิดผล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้น ได้พิจารณาจัดทำโครงการสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ เป็นส่วนรวมขึ้น และได้นำโครงการนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ขออนุมัติหลักการโครงการจัดสร้างเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และอนุมัติหลักการ ให้จัดสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติได้ตามที่ กระทรวงกลาโหมเสนอ ต่อมาคณะ กรรมการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ได้รับโครงการนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ด้วยกระทรวงกลาโหม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เรียกว่า คณะกรรมการจัดสร้าง อาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน รองเสนาธิการทหาร รองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็น กรรมการ เจ้ากรมการศึกษาวิจัย (กรมยุทธศึกษาทหาร) เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากองประวัติศาสตร์ และ พิพิธภัณฑ์ทหาร กรมการศึกษาวิจัย (ผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหารในปัจจุบัน) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ใช้พื้นที่บริเวณ สามเหลี่ยมดอนเมือง ช่วงถนนวิภาวดีรังสิต บรรจบกับถนนพหลโยธิน พื้นที่ ๓๘ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ เป็นสถานที่จัดสร้าง อนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ หลังจากได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดสร้างแล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานชื่ออนุสรณ์ที่จะก่อสร้างเพื่อเป็นสิริมงคล และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทาน 

ชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๖พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗