• หน้าหลัก
  • โครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนแห่งสายน้ำ
    • ลงทะเบียนร่วมงาน
  • เกี่ยวกับปทุมธานี
    • บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
    • ประเพณีและวัฒนธรรม
    • ประวัติจังหวัดปทุมธานี
    • สถานที่ท่องเที่ยว
      • วัด
      • พิพิธภัณฑ์
      • แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
      • โบราณสถาน
      • ธุรกิจและบริการ
        • สนามกีฬา
        • โรงแรม
        • ตักศิลาแห่งการศึกษาเรียนรู้
      • ตลาดเก่า
      • สินค้า OTOP
      • สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
  • ติดต่อหน่วยงาน
  • 中文
  • ไทย
  • English (UK)
Recommend Print

ถวายธงตะขาบ

ถวายธงตะขาบ Image 1   ถวายธงตะขาบ Image 2   ถวายธงตะขาบ Image 3   ถวายธงตะขาบ Image 4   ถวายธงตะขาบ Image 5   ถวายธงตะขาบ Image 6   ถวายธงตะขาบ Image 7

ชาวมอญเป็นผู้ที่นับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด

ดังนั้น เทศกาลต่าง ๆ ก็จะต้องเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์หรือเป็น

ปริศนาธรรมเสมอ การถวายธงตะขาบของชาวมอญที่ปากลัด

(พระประแดง) ก็เช่นเดียวกัน โดยวัดมอญที่อยู่ในเขตตำบลตลาด

ตำบลบางพึ่ง ตำบลทรงคนอง ตำบลบางหญ้าแพรก จะมีเสาหงส์

อยู่ทุกวัด เพื่อแสดงว่าเป็นวัดมอญและเพื่อใช้แขวนธงตะขาบ

เสาหงส์จะสร้างไว้ใกล้กับปูชนียวัตถุ เช่น โบสถ์หรือพระเจดีย์

แล้วแต่ความเหมาะสมของสถานที่ ปลายเสาจะมีตัวหงส์

ที่ทำด้วยไม้หรือโลหะติดอยู่ เมื่อใกล้วันสงกรานต์ชาวบ้าน

ก็จะมาช่วยกันจัดทำธงตะขบายขึ้นเพื่อนำไปถวายวัดที่ตนทำบุญอยู่

ธงตะขาบทำด้วยผ้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ส่วนความยาวนั้น

ก็แล้วแต่ความสูงของเสาหงส์ของวัดของตน ตัวธงทำเป็น ๙ ช่อง

แล้วเอาไม้ไผ่ผ่าซีกที่เตรียมไว้วางคั่นช่องแบ่งไว้ช่องละ ๒ อัน

แต่ละอันห่างกัน ๔ – ๕ นิ้ว ส่วนหัวและหางแต่เดิมทำด้วยไม้ไผ่

สานเป็นตะแกรงแล้วหุ้มด้วยผ้าแดง แต่ในปัจจุบันมักทำด้วยไม้อัด

ปลายของไม้ไผ่ที่คั่นช่องทุกอันทำธงรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ๔๐ ผืน

ติดไว้สมมติเป็นขาตะขาบ ในส่วนที่เป็นลำตัวของตะขาบจะเจาะผ้า

ให้เป็นช่องไว้ให้ลมผ่านได้ส่วนละ ๕ ช่อง ธงตะขาบนี้จะประดิษฐ์

ตกแต่งให้สวยงามอย่างไรก็ได้ตามความต้องการ ที่ชาวมอญทำธง

เป็นรูปตะขาบไปถวายวัดในเทศกาลสงกรานต์ก็เพื่อบูชาพระรัตนตรัย

โดยใช้ธงแสดงปริศนาธรรม

 


ในทางโลก ตะขาบเป็นสัตย์ที่มีลำตัวยาว สามารถปกป้อง

คุ้มครองลูกของตนโดยโอบล้อมลูกเอาไว้ เป็นตัวอย่างของ

การปกป้องคุ้มครองชนชาติของตน ในทางธรรมหนวดสองเส้น

หมายถึง สติและสัมปชัญญะ เขี้ยว ๒ อัน หมายถึง หิริโอตัปปะ

ดวงตา ๒ ดวง หมายถึง กตัญญูและกตเวที ลำตัว ๙ ช่วง หมายถึง

คุณธรรมของอริยบุคคล ๔ คู่ และนิพพาน ๑ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค

โสดาปัตติผล สกทามีมรรค สกทามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล

อรหัตมรรค อรหัตผล และนิพพาน ช่องลมผ่าน ๔๕ ช่อง หมายถึง

จำนวนปีที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนา ๔๕ ปี ขา ๔๐ ขา หมายถึง

หมวดธรรมต่าง ๆ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นาถกรณธรรม ๑๐

อนุสติ ๑๐ และกุศลกรรมบท ๑๐ หาง ๒ แฉก หมายถึง ขันติและ

โสรัจจะ เมื่อทำเสร็จแล้วก็ช่วยกันนำไปถวายที่วัดวันสงกรานต์

ในขณะที่นำธงไปถวายก็จัดเป็นขบวนแห่กันไป มีเครื่องดนตรีพื้นบ้าน

อะไรก็นำออกมาดีด สี ตี เป่า ไปตามทางที่จะไปวัด หนุ่มสาว เฒ่า แก่

ก็ออกมาช่วยกันจับชายธงตะขาบเป็นขบวนยาว แห่แหนกัน

เป็นที่สนุกสนาน หนุ่มสาวก็มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกัน

จะเห็นได้ว่าการถวายธงตะขาบก็เพื่อบูชาพระรัตนตรัย

เป็นปริศนาธรรมและแสดงถึงความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน

และเป็นการเฉลิมฉลองในวันสงกรานต์ด้วย