• หน้าหลัก
  • โครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนแห่งสายน้ำ
    • ลงทะเบียนร่วมงาน
  • เกี่ยวกับปทุมธานี
    • บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
    • ประเพณีและวัฒนธรรม
    • ประวัติจังหวัดปทุมธานี
    • สถานที่ท่องเที่ยว
      • วัด
      • พิพิธภัณฑ์
      • แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
      • โบราณสถาน
      • ธุรกิจและบริการ
        • สนามกีฬา
        • โรงแรม
        • ตักศิลาแห่งการศึกษาเรียนรู้
      • ตลาดเก่า
      • สินค้า OTOP
      • สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
  • ติดต่อหน่วยงาน
  • 中文
  • ไทย
  • English (UK)
Recommend Print

สามโคกเมืองเก่า

สามโคกถึงปทุมธานีปีที่ ๒๐๐   


         
           หากมีการขุด
ค้นทางโบราณคดีจำแนกชั้นผิวดินทางวัฒนธรรม เราอาจพบการซ้อนทับของ วิถีผู้คนหลายหลากกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งไทย มอญ แขก จีน ฝรั่ง ลาว ญวน พวน ทวายที่ล้วนแตกต่าง แต่ทว่ากลุ่มคนเหล่านั้นได้เคยเรียนรู้และแบ่งปันซึมซับปรับเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างกัน กระทั่งหลอมรวมเป็น “คนปทุมธานี” มีลูกสืบหลานอยู่ร่วมกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

สามโคกเมืองเก่า
        การตั้งถิ่นฐานของผู้คนเมืองสามโคกสามารถนับย้อนไปได้ไกลอย่างน้อยถึงสมัยอยุธยาตอนต้น กล่าวคือสถานที่ซึ่งถูกเรียกขานว่า “สามโคก” ในปัจจุบัน เมื่อครั้งอดีตเคยมีชื่อเรียกว่า “ทุ่งพญาเมือง” มีหลักฐานความเป็นบ้านเป็นเมืองเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนสมัยอยุธยาคือก่อนที่พระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๑๒) จะได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓

        ศูนย์กลางของทุ่งพญาเมืองในอดีตอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณตำบลบ้านงิ้วบ้านวัง ก่อนถูกทิ้งร้างไประยะหนึ่ง ซึ่งพบหลักฐานโบราณวัตถุแถบวัดป่างิ้ว และวัดร้างอีกหลายแห่ง อาทิวัดใหม่ วัดนางหยาด วัดพญาเมือง เป็นเช่น หลวงพ่อเพชรและหลวงพ่อพลอยวัดสองพี่น้อง ลวงพ่อวัดนางหยาด และเครื่องถ้วยจีนโบราณจากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นทำให้สันนิษฐานได้ว่าทุ่งพญาเมือง มีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาหรืออย่างน้อยก็ร่วมยุคเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น ภายหลังการล่มสลายของทุ่งพญาเมืองจึงมีคนมอญเข้ามาและได้ตั้งชุมชนบ้านเรือนขึ้น ณ บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลสามโคก บริเวณตั้งแต่ใต้ปากคลองบางเตย วัดตำหนัก วัดสะแก วัดสามโคก วัดสิงห์ วัดแจ้งใน และวัดไก่เตี้ย รวมทั้งบริเวณวัดร้าง เช่น วัดช่องลม วัดแจ้งนอก วัดป่าฝ้าย และฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยาแถบวัดศาลาแดง วัดเมตารางค์ อีกทั้งซ้อนทับกลมกลืนไปกับชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิมที่เป็น บ้านเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยทุ่งพญาเมือง ดังปรากฏเช่นในปัจจุบัน

   

      ส่วนชื่อ สามโคก นั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นบ้านเป็นเมือง มาก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ทว่าหลักฐานเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่าที่พบในปัจจุบันระบุได้เพียงว่า มีการเรียกขานชื่อเมือง“สามโคก” ขึ้นแล้วในรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพ.ศ. ๒๑๗๓ คือ มีข้อความสำคัญในกฎหมายลักษณะพระธรรมนูญ ว่าด้วยการใช้ตราราชการ พ.ศ. ๒๑๗๕ ระบุว่า “สามโคก” เป็นหัวเมืองหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อ กรมพระกลาโหม แม้ข้อมูลดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่า ณ วันที่ถูกกล่าวถึงมิใช่วันแรกของการก่อตั้งชุมชนบ้านเรือนชื่อสามโคก แต่ก็มิอาจระบุได้ว่าจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนแน่นอนนั้นคือเมื่อใด