• หน้าหลัก
  • โครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนแห่งสายน้ำ
    • ลงทะเบียนร่วมงาน
  • เกี่ยวกับปทุมธานี
    • บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
    • ประเพณีและวัฒนธรรม
    • ประวัติจังหวัดปทุมธานี
    • สถานที่ท่องเที่ยว
      • วัด
      • พิพิธภัณฑ์
      • แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
      • โบราณสถาน
      • ธุรกิจและบริการ
        • สนามกีฬา
        • โรงแรม
        • ตักศิลาแห่งการศึกษาเรียนรู้
      • ตลาดเก่า
      • สินค้า OTOP
      • สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
  • ติดต่อหน่วยงาน
  • 中文
  • ไทย
  • English (UK)
Recommend Print

ศาลากลางเก่าจังหวัดปทุมธานี

ศาลากลางเก่าจังหวัดปทุมธานี Image 1   ศาลากลางเก่าจังหวัดปทุมธานี Image 2   ศาลากลางเก่าจังหวัดปทุมธานี Image 3

ศาลากลางเก่าจังหวัดปทุมธานี ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ เดิมทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ได้มีการโยกย้ายส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดจากเดิม ตั้งอยู่บนโคกชะพลูใต้ คลองบางทราย ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตั้งอยู่ที่ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนราชการเหล่านี้ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด อนามัยจังหวัด จวนผู้ว่าราชการจังหวัด และแพขาว

ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี(หลังเก่า) ไม่ปรากฏหลักฐานว่าก่อสร้างเมื่อใด แต่จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สมัยเดียวกับศาลจังหวัด และที่ว่าการอำเภอเมือง

ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม

ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี(หลังเก่า) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตก พื้นล่างยกสูงราว ๑ เมตร ก่อผนังปิดใต้ถุนโดยรอบ ด้านหน้ามีมุขกลางซ้อนกัน ๒ ชั้น มีปีกยื่นออกมาทั้ง ๒ ข้าง ด้านหลังมุขเป็นตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าของมุขและอาคารมีลูกกรงปูนปั้นเป็นแบบลูกมะหวดประดับขอบหน้าบันของมุขทำเป็นรูปโค้งประดับขอบด้วยลวดลายปูนปั้นแบบยุโรป ตรงกลางหน้าบันมีครุฑเป็นสัญลักษณ์ หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ ตรงปีกหน้ามุขและระเบียงอาคารทั้ง ๒ ข้าง ระดับช่องลมประดับด้วยไม้ฉลุลาย ช่องลมช่องระบายอากาศเหนือประตูหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลายเช่นกัน ประตูหน้าต่างเป็นบานไม้เปิดคู่ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี(หลังเก่า) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษที่ ๕๐ ง วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๘ ไร่ ๒ งาน ๓ ตารางวา

 

JavaScript must be enabled in order for you to use Google Maps.
However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser.
To view Google Maps, enable JavaScript by changing your browser options, and then try again.

พิมพ์